วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

THN24726

Thn 24726
        ด.ญ.วิภาวรรณ  จันทร์ศรี    ม.2/9    เลขที่ 44   ย้ายมาจาก โรงเรียนวัดช่องลม(ธรรมโชติ)  เกิดวันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2544  อายุ 13 ปี  ที่อยู่ 42/3  หมู่ 1 ต.บ้านปรก  อ.เมือง  จ.สมุทรสงคราม

ไดอารีแห่งความทรงจำที่วันวาน

          ไดอารีแห่งความทรงจำที่วันวาน
   แม่เป็นคนที่สำคัญที่ีสุดในชีวิตเรา  แม่ให้กำเนิเรา  แม่ให้ลมหายใจเรา  เราต้องรักแม่ให้มากๆ  ถ้าเป็นไปได้ เราควรรักแม่ทุกๆวัน  ดังนั้นเราควรเห็นคุณค่าของคำว่า "แม่"

ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์


ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

1. การนิยามปัญหา (Problem Definition)
ในขั้นแรกของการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญที่สุด คือเราต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าปัญหาคืออะไร ประเด็นหลักอยู่ที่ใด และต้องการให้ได้ผลลัพธ์อะไร

2. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem analysis)
หลังจากที่เข้าใจปัญหาได้ดีแล้ว ขั้นต่อไป คือ การวิเคราะห์ปัญหา และพัฒนาสูตรเชิงคณิตศาสตร์ที่แทนวิธีการแก้ปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ให้พิจารณาที่ผลลัพธ์ของปัญหาก่อน (output) ว่าคืออะไร และมีข้อมูลนำเข้า (input) อะไรบ้างที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์เช่นนั้น จากนั้นจึงคิดสูตรเป็นสมการ หรือวิธีการที่จะแก้ปัญหานั้น เราต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า ข้อมูลอะไรที่นำเข้าจากผู้ใช้ ข้อมูลอะไรเกิดขึ้นจากการคำนวณ หรือข้อมูลใดเป็นค่าคงที่
ตัวอย่างเช่น โจทย์ต้องการให้เขียนโปรแกรมคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องการจ่ายให้พนักงานรายวัน แต่ละคน โดยมีค่าแรงเป็น 40 บาทต่อชั่วโมง ถ้าทำงานเกินจะมีค่าล่วงเวลาคิดเป็นอัตรา 7 บาทต่อชั่วโมง
3. การออกแบบอัลกอริธึม (Algorithm design) หรือการออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา
ในขั้นนี้เป็นการคิดหาขั้นตอนการแก้ปัญหาทีละขั้น เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาได้ และสามารถนำมาแปลงเป็นคำสั่งของภาษาโปรแกรมได้โดยง่าย ซึ่งเรียกขั้นตอนการแก้ปัญหาทีละขั้นนี้ว่าอัลกอริธึม (algorithm)
ตัวอย่างจากโจทย์การคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องการจ่ายให้แก่พนักงาน เขียนอธิบายแต่ละขั้นไดดังนี้
ขั้นที่ 1 รับข้อมูลชั่วโมงทำงานของพนักงานจากแป้นพิมพ์
ขั้นที่ 2 เปรียบเทียบจำนวนชั่วโมงทำงานกับ 8
ถ้าจำนวนชั่วโมงทำงาน มากกว่า 8 แล้ว ให้คำนวณตามสูตรต่อไปนี้
ค่าแรงของพนักงาน = 8*40
ค่าล่วงเวลา = (จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน – 8 ) *7
ถ้าจำนวนชั่วโมงทำงาน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 แล้วให้คำนวณ
ค่าแรงของพนักงาน = จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน * 40
ค่าล่วงเวลา = 0
ขั้นที่ 3 คำนวณจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงาน
รวมจำนวนเงินค่าแรงของพนักงานแต่ละคน = ค่าแรงของพนักงาน + ค่าล่วงเวลา
ขั้นที่ 4 แสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ทราบ
ขั้นที่ 5 จบการทำงาน

แต่ละขั้นตอนต้องมีความชัดเจนว่าจะทำอะไร แล้วได้ผลลัพธ์อะไรในแต่ละขั้น

4. การพัฒนาโปรแกรม (Program development)
ในขั้นตอนนี้นักเขียนโปรแกรมต้องนำเอาคำอธิบายของขั้นตอนการแก้ปัญหาแต่ละขั้นจากอัลกอริธึมมาแปลงเป็นคำสั่งของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น เขียนด้วยภาษา c++ เป็นต้น การพัฒนาโปรแกรมจะทำได้ง่าย ถ้าอัลกอริธึมถูกต้อง และมีความชัดเจน

5. การทดสอบความถูกต้อง (Program Testing)
หลังจากที่เราเขียนคำสั่งของภาษาโปแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ขั้นต่อไป คือ การทดสอบ (Testing) เพื่อหาข้อผิดพลาดจากการเขียนคำสั่งผิดไวยกรณ์ของภาษา หรือข้อผิดพลาดจากการคำนวณการทดสอบควรทดสอบทุกกรณีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การคิดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงานเราต้องทดสอบด้วยการป้อนจำนวนชั่วโมงทำงานประมาร 3 ค่า คือ ค่าที่มากกว่า 8 หรือค่าที่น้อยกว่า 8 หรือค่าที่เท่ากับ 8 เพื่อทดสอบว่าถูกต้องทุกกรณีตามสูตรที่ออกแบบไว้หรือไม่

6. การจัดทำเอกสาร (Documentation)
การจัดทำเอกสารถือว่าเป็นงานที่สำคัญที่นักเขียนโปรแกรมส่วนใหญ่ละเลย การจัดทำเอกสารมีได้สองแบบ คือจัดทำเอกสารคู่มือผู้ใช้ และเอกสารคู่มือพัฒนา ซึ่งเอกสารแบบหลังนี้มีความสำคัญต่อองค์กร เพราะช่วยให้การบำรุงรักษาโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น และใช้อ้างอิงในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในระบบ การเขียนหมายเหตุในโปรแกรมถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะทำ เพื่ออธิบายความคิดว่าขณะนั้นได้คิดอะไร การเขียนหมายเหตุเป็นสิ่งที่ช่วยเตือนความทรงจำของตัวผู้เขียนเอง และคนอื่น

7. การบำรุงรักษา และการแก้ไข (Maintenance and modification)
การพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใหม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายการการบำรุงรักษา และการแก้ไข ต้นทุนการบำรุงรักษาโปรแกรมจะเพิ่มมากขึ้นหากการออกแบบโปรแกรมทำ
                                            https://sites.google.com/site/suaputkar/khan-txn-kar-kae-payha-dwy-khxmphiwtexr             
                                                                                

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process). คือ  ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต  ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว.
ความสำคัญของกระบวนการทางเทคโนโลยี.
1. เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์.
2. เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา.
3. เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ.

                                      http://sirirathealth.blogspot.com/2013/01/blog-post.html
                                                                       
                                                                                 

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเตอร์เน็ต


6. มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต    จากปัญหาการล่อลวงอินเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทั้งตนเอง และสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ ดังนี้
    1.   ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
    2.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
    3.   ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
    4.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
    5.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
    6.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
    7.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
    8.   ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
    9.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ
                                                                http://krutuk.kkw2.ac.th/2012/?page_id=57
                                                                            
                                                                                      

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต


ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
                                                                                  http://linblog21.blogspot.com
                                                                                        

การทำงานของอินเตอร์เน็ต

 การใช้งาน Internet Explorer 
      Internet Explorer (IE) เป็น Browser ซึ่งผลิตโดยบริษัท Microsoft ซึ่งมีมาให้พร้อมกับ Microsoft Windows ตั้งแต่ Windows 98 ขึ้นไป โดยที่หากเป็น Windows98 ก็จะเป็น IE4.0 , Windows98 SE ก็จะเป็น IE5.0 , Windows Me ก็จะเป็น IE5.5 , สุดท้ายถ้าเป็น Windows XP ก็จะเป็น IE6.0 ดังนั้น หากคิดจะใช้ อินเตอร์เน็ตด้วย IE แล้ว จำเป็นต้องทราบเทคนิค พื้นฐานเบื้องต้นในการใช้ IE ด้วย
                                                                  http://cict.mnre.go.th/ewt_news.php?nid=181
                                                                                       
                                                               

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
  • เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่
  • สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Routerทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือ เน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไป ยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์ก ของหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการ เชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอ ที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็ก หรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง
การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือ ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อิน เตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าISPมีสมาชิก มากน้อยเท่าไร
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
- การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สอง คือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งาน มีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งาน เป็นแบบกราฟิก จะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)
http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/in6pag2.html
                                                                                             
                                                                                            

ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต


 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
      อินเทอร์เน็ต (Internet)   คือ  เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
       อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

     พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
        ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ
เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด 


http://www.thaigoodview.com/node/71648
                                                                                

    

การใช้อินเทอร์เน็ตแก้ปัญหา

การใช้อินเทอร์เน็ตแก้ปัญหา
      การแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากมีสาเหตุที่เป็นไปได้หลายประการ ขั้นแรก ให้ลองทำขั้นตอนเหล่านี้

  • เปิดการวินิจฉัยเครือข่ายโดยคลิกที่ไอคอนของเครือข่ายในพื้นที่การแจ้งเตือน แล้วคลิก วินิจฉัยและซ่อมแซม
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเชื่อมต่อสายทั้งหมดแล้ว (ตัวอย่างเช่น ดูว่าได้เชื่อมต่อโมเด็มของคุณกับหัวต่อสายโทรศัพท์หรือจุดต่อสายเคเบิลที่ใช้งานได้ ไม่ว่าจะเชื่อมต่อโดยตรงหรือผ่านเราเตอร์)
  • ตั้งค่าโมเด็มและเราเตอร์ใหม่ ถอดสายไฟออกจากโมเด็มและ/หรือเราเตอร์ รออย่างน้อย 10 วินาทีแล้วจึงเสียบโมเด็มและ/หรือเราเตอร์กลับเข้าไป
  • ตรวจสอบเราเตอร์ของคุณ เนื่องจากคุณลักษณะใหม่ของเครือข่ายใน Windows Vista ทำให้เราเตอร์เครือข่ายรุ่นเก่าบางตัวไม่สามารถเข้ากันได้กับ Windows Vista อย่างสมบูรณ์และอาจก่อให้เกิดปัญหาได้
ถ้าขั้นตอนเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ให้ค้นหาปัญหาที่เฉพาะเจาะจงในรายการต่อไปนี้
แสดงทั้งหมด

การใช้อินเทอร์เน็ต

1. ลงชื่อขอใช้บริการได้ที่เจ้าหน้าที่
2. นักศึกษาต้องแสดงบัตรนักศึกษา หรือบัตรประชาชน ในการขอใช้บริการห้องอินเทอร์เน็ต/ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. ห้ามสวมรองเท้าเข้าไปในห้องบริการอินเทอร์เน็ต
4. ห้ามส่งเสียงดัง เปิดเพลง ดูหนัง วิ่งเล่นรบกวนผู้ขอใช้บริการท่านอื่นๆ และกรุณารักษาความสะอาดภายในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
5. เมื่อนักศึกษาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แล้วพบว่าเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ใช้นั้นชำรุดมีปัญหาการใช้งาน ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่โดยด่วน
6. ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวทุกชนิด เข้ามารับประทานในห้องอินเทอร์เน็ต/ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยกเว้นจุดที่ให้บริการเท่านั้น 
7. ห้ามนักศึกษาเล่นเกมส์ทุกชนิดและเข้าเว็บไซต์ที่เป็นสื่อลามกในห้องอินเทอร์เน็ต/ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
8. ห้ามถอดเปลี่ยน เคลื่อนย้าย อุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ และห้ามลักขโมยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเครื่องคอมพิวเตอร์
9. ห้ามนักศึกษาเข้าสู่ระบบเครือข่ายหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือพยายามทดลองการเจาะระบบไม่ว่าจะเป็นภายในมหาวิทยาลัยฯ หรือภายนอกก็ตาม นักศึกษามีความผิดถึงขั้นพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาทันที
10. ห้ามใช้งานในทางที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม กรุณาใช้เพื่อการศึกษา หรือค้นหาข้อมูลเท่านั้น
11. การบันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หากมีการสูญหาย ทางงานบริการคอมพิวเตอร์ จะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น เพราะเจ้าหน้าที่จะทำการลบไฟล์ทั้งหมดในวันสุดท้ายของสัปดาห์
12. ไม่อนุญาตให้ทำการติดตั้ง ถอดถอน หรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรมต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์
13. ห้ามนำทรัพย์สินใดๆ ที่อยู่ภายในห้องบริการอินเทอร์เน็ต ออกจากห้องโดยเด็ดขาด ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดฐานลักทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย จะต้องถูกลงโทษตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
14. ทุกครั้งที่เลิกใช้คอมพิวเตอร์ กรุณา Shutdown เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง ปิดหน้าจอ เก็บเมาส์ คีย์บอร์ด และเก้าอี้ให้เรียบร้อย


                   http://comservice.pcru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=113&Itemid=90

           




                                                                   

                 






                                                                                  

ไดอารีแห่งความทรงจำ

ไดอารีแห่งความทรงจำ

      แม่เป็นคนที่ให้กำเนิดเรา  แม่เป็นคนเลี้องเรามาตั้งแต่เกิด  แม่รักเรามากแค่ไหนเราก็น่าจะรู้ดี  ถ้าวันไหนแม่เราไม่อยู่กับเราแล้ว  เราก็จะรู้ว่า "แม่" เป็นคนสำคัญที่สุด  ดังนั้นเราก็ต้องรักแม่ให้มากๆ รักแม่ทุกวันจึงจะดี  แม่ก็จะภูมิใจในตัวเรา  ตอนนี้เราควรทำให้แม่มีความสุขทุกๆวันเลยนนะ

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

thn24726

ชื่อ   ด.ญ.วิภาวรรณ  จันทร์ศรี  ชื่อเล่น  บัวตอง   อายุ  13  ปี  เกิดวันพุธ ที่ 4 เมษายน  พ.ศ. 2544  ที่อยู่ปัจจุบัน  43/2  หมู่ 1   ต.บ้านปรก  อ. เมือง  จ.สมุทรสงคราม